Monday - Sunday : 06.00 A.M. - 11.59 P.M.
KNmasters
เพิ่มเพื่อน
Knmasters
6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ
KNmasters

Share This Post

จากคำกล่าวที่ว่า “You can’t judge a book by its cover.” “คุณไม่อาจตัดสินหนังสือจากหน้าปก” เป็นคำกล่าวที่ดีแต่อาจจะไม่สามารถนำมาใช้กับบทความที่เราจะนำมาเสนอในวันนี้ ในการตัดสินใจเลือกซื้อหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์หรือนิตยสาร แน่นอนว่าหน้าปกเป็นปัจจัยหลักในการเลือกหยิบขึ้นมาอย่างแน่นอน ในที่นี้เราจะมาดู 6 ขั้นตอนการออกแบบหน้าปกหนังสืออย่างมีคุณภาพ โดยต้องบอกไว้เลยว่าลักษณะแนวคิดของการออกแบบต่างๆนั้นไม่มีสูตรจำเพาะตายตัว แต่ในที่นี้สามารถยึด  6 ขั้นตอนนี้เป็นแนวทางได้ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นจากการสำรวจจากหลายๆแหล่งของผู้อ่านหนังสือถึงปัจจัยในการเลือกซื้อหนังสือ ส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องของปกหนังสือเข้ามาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อ สำนักพิมพ์ต่างๆจึงต้องให้ความสนใจและความสำคัญในเรื่องของการออกแบบปกมากยิ่งขึ้นกล่าวได้ว่าในส่วนนี้มีความสำคัญพอๆกับคุณภาพของเนื้อเรื่อง มาดูกันเลยดีกว่าว่า 6  ขั้นตอนการออกแบบหน้าปกหนังสืออย่างมีคุณภาพมีอะไรบ้าง

1. ฟังความคิดเห็น

มาเริ่มกันด้วยขั้นตอนที่ 1 การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โดยทางทีมผู้ออกแบบจะทำการสำรวจความต้องการ โดยการสอบถามไปยังเจ้าของผลงาน นักเขียน ถึงรายละเอียดต่างๆของหนังสือ และสิ่งที่ต้องการเป็นพิเศษ เช่น โทนสี  รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร การจัดวางเป็นต้น เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า Requirements หลังจากที่ได้ทราบถึงความต้องการของเจ้าของผลงานแล้ว ต่อไปทีมออกแบบก็จะทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาเพื่อนำไปสู่การทำงานในขั้นตอนต่อไป ข้อมูลที่ได้จากเจ้าของผลงานเป็นสิ่งที่จำเป็นก็จริง เพียงแต่ว่ายังไม่ใช่ตัวที่ใช้ในการตัดสินใจทั้งหมด เพราะยังมีขั้นตอนอีก 5 ขั้นตอนที่ทางเรานำมาเพื่อประกอบการตัดสินใจ

2. วิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมาย

การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญ ในเมื่อเราได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาเรียบร้อยแล้ว ต่อมาคือเราต้องนำข้อมูลนั้นมาผ่านกระบวนการคิดเพื่อที่จะนำข้อมูลมาจำกัดกลุ่มของเป้าหมายที่จะซื้อหนังสือของเรา ต้องทำการตีโจทย์ว่า ใครคือลูกค้าของเรา ใครคือกลุ่มเป้าหมายของเรา ต้องทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลออกมาให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ช่วงอายุ เพศ งานอดิเรก ระดับการศึกษา อาชีพ และยังรวมไปถึงทักษะต่างๆของผู้อ่านอีกด้วย หากจะยกตัวอย่างที่สำคัญในการวิเคราะห์คือ ช่วงอายุ เพศ เพราะหนังสือเองก็มีเนื้อเรื่อง เนื้อหาที่เหมาะสมกับช่วงอายุที่ต่างกันไป เช่น “นี่เราใช้ชีวิตยากเกินไปหรือเปล่านะ” เขียนโดย ฮาวัน แปลโดย ตรองสิริ ทองคำใส โดยสำนักพิมพ์ Springbooks มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพนักงานออฟฟิตที่หมดไฟ จึงวิเคราะห์ได้ว่า หนังสือเล่มนี้เหมาะกับทุกเพศ และเป็นช่วงวัยทำงาน ที่มีกำลังซื้อหนังสือ อาชีพที่แตกต่างกันไปแต่เป็นพนักงานเงินเดือนที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับความซ้ำซาก และในตัวของหนังสือต้องให้คำตอบแก่ผู้อ่านถึงจะไม่ใช่โดยตรง อาจจะเป็นโดยนัยให้ทางผู้อ่านไปต่อยอดเองเพื่อเป็นการตอบโจทย์ในส่วนของการเพิ่มทักษะ

3. Research

หลังจากที่เรารวบรวมข้อมูลจากขั้นตอนที่1 และ วิเคราะกลุ่มเป้าหมายตามขั้นตอนที่2แล้ว ต่อมาขั้นตอนที่ 3 จะเป็นขั้นตอนที่ทีมออกแบบต้องทำการบ้านอย่างหนักเพราะต้องนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดมาวิเคราะห์และยังต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ เช่น คู่แข่งของหนังสือเราที่ปรากฎอยู่ในท้องตลาด ซึ่งให้มองหาในส่วนของหนังสือที่มีเรื่องราวคล้ายๆกับของเรา พยายามหาจุดแข็งของหนังสือเราและคู่แข่ง รวมไปถึงการหาจุดอ่อนด้วย ศึกษาหาความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 แบบเพื่อเพิ่มโอกาสให้นักอ่านเลือกที่จะหยิบหนังสือของเราถึงแม้จะมีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน และลองวิเคราะห์แนวทางในการออกแบบของหนังสือที่หลากหลายแนว เช่น คู่มือเตรียมสอบ ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ หรือการให้ความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ เพื่อดูว่าการออกแบบอย่างไร ในเรื่องการเน้นคำ การใช้สี การจัดวาง ให้นักอ่านเลือกที่จะหยิบหนังสือเล่มนี้ 

4. สิ่งที่ต้องการสื่อสาร

ขั้นตอนที่ยากที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว (ในส่วนของขั้นตอนที่ 3 นั้นเอง) ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่ต้องรู้จักกับตัวเอง ต้องมีการถามกับตัวเองและทีมออกแบบว่า งานของเราเป็นอย่างไร งานของเราต้องการจะสื่อสารอะไรออกมา เพื่อเป็นการสื่อสารกับผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมาโดยปกของหนังสือ อธิบายเนื้อเรื่องที่อยู่ภายในเล่มโดยตัวปกของหนังสือ ให้ผู้อ่านได้รู้ว่าหนังสือเราเกี่ยวกับอะไร ต้องการจะสื่อสารอะไรเพียงแค่เห็นปกหนังสือ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่จะใช้เวลาพอสมควรเพื่อคิดไตร่ตรองให้ดี และต้องการความเห็นจากทีมออกแบบอย่างมากเพื่อให้งานออกมาอย่างดีที่สุด

5. ปฎิบัติตามทฤษฎีในการออกแบบ

กในการออกแบบทุกครั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องยึดตามหลักการของทฤษฎีต่างๆไม่ว่าจะเป็น Golden Ratio, Guide and Grid Theory, Color Theory เป็นต้น ในที่นี้จะของยกตัวอย่างในส่วนของ 2 ทฤษฎีที่ทางเรานำมาใช้

Guide and Grid Theory

คือการสร้างระบบตาราง (Grid System) ขึ้นมาใช้กำกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และรขาคณิตแบ่งพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็นส่วนๆ โดยมีระบบตารางเป็นตัวกำกับ เพื่อจัดองค์ประกอบในการออกแบบให้เป็นระเบียบ น่าอ่าน สบายตา 

Color Theory (ทฤษฎีสี)

คือ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการผสมสีจากแม่สีต่างๆ รวมไปถึงการจับคู่สีเข้าด้วยกัน และสีที่ตรงกันข้ามกัน โดยแม่สีจะประกอบไปด้วย 3 สีคือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน 

การแบ่งสีโทนร้อนและสีโทนเย็น

  • สีโทนร้อน คือชุดสีที่ประกอบไปด้วย สีแดง สีส้มแดง สีส้ม สีส้มเหลือง และสีม่วงแดง เป็นสีวรรณะร้อนให้ความรู้สึกที่ตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดี
  • สีโทนเย็น คือชุดสีที่ประกอบไปด้วย สีเขียว สีเขียวเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน เป็นสีวรรณะเย้นให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับและเยือกเย็น

วงล้อสี คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นค่ๆ จากแม่สีทั้ง 3 สี ผสมกันจนเกิดเป็นสีใหม่ๆขึ้นมาจนได้ครบวงจรสีทั้งหมด 12 สี จะมีการแบ่งสีเป็น 3 ขั้นดังนี้

  • Primary Colours (ปฐมภูมิ) คือสีขั้นที่ 1 ได้แก่แม่สีทั้ง 3 สี สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ไม่มีสีใดที่สามารถผสมออกมาเป็น 3 สีนี้ได้ จึงเรียกว่าแม่สี
  • Secondary Colours (ทุติยภูมิ) คือสีขั้นที่ 2 เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของแม่สี โดยจะมีการผสมกันเป็นคู่ๆ เราจะได้สีเพิ่มขึ้นมาอีก 3 สี คือ สีส้ม สีเขียว สีม่วง
  • Tertiary Colours (ตติยภูมิ) คือสีขั้นที่ 3 เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างสีขั้นที่ 1 กับ สีขั้นที่ 2 เราจะได้สีเพิ่มขึ้นมาอีก 6 สี คือ สีส้มเหลือง สีส้มแดง สีเขียวเหลือง สีเขียวน้ำเงิน สีม่วงแดง และสีม่วงน้ำเงิน

Poster Version 2 Posted by Seth Wilson at Saturday, December 11, 2010

ทางเราได้ยกตัวอย่างมา 2 ทฤษฎี ที่ทางเรายึดถือเป็นหลักในการออกแบบ

6. จินตนาการผลลัพท์ของผลงานที่ผลิตออกมาแล้ว

ขั้นตอนสุดท้ายนี้ต้องพึ่งในส่วนของฝีมือและประสบการณ์ของทีมออกแบบล้วนๆ เพราะเป็นเนื้องานจำเพาะ ที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในงานพิมพ์ เรื่องหลักการใช้สี ในส่วนของการผสมสีและแยกสี การใช้เทคนิคต่างๆ การเลือกวัสดุในการนำมาเคลือบปก ซึ้งมีทั้งแบบ PVC ด้าน หรือการอาบ UV การเข้าสันหนังสือก็เป็นเรื่องสำคัญ และส่วนที่สำคัญที่สุดคือลักษณะของกระดาษ กระดาษมีมากมายหลากหลายแบบ แต่ละแบบก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทางทีมออกแบบจะต้องปรึกษากันว่าจะใช้เทคนิดแบบไหนในการพิมพ์และเลือกกระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับกาพิมพ์แบบนั้นเพื่อส่งเสริมงานของเราให้ออกมามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดที่กล่าวมายังเป็นเพียงจินตนาการของทีมออกแบบเท่านั้น ยังไม่มีการผลิตจริง เพราะฉะนั้นแล้วทางทีมออกแบบจ้องมองภาพรวมทั้งหมดให้ออก เพื่อให้ผลงานออกมามีคุณภาพและดีที่สุดเมื่อพิมพ์ออกมาสู่มือของนักอ่านแล้ว

Table of Contents