หน้าแรก หรือหน้าที่แสดงเวลามีคนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา แนะนำให้เน้นที่ Header และ Logo แบรนด์ท่ีดึงความสนใจของพวกเขาได้ ควรเป็นสิ่งที่เห็นแล้วบอกได้ทันทีว่า แบรนด์คือใคร ผู้บริโภคกำลังเข้ามาดูอะไร ส่วน Logo ควรวางในจุดที่มองเห็นง่าย ไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป
เนื้อหาที่แบรนด์อยากอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของ Header หรือส่วนอื่น ๆ ที่อยากให้ผู้บริโภคได้รู้จัก เข้าใจแบรนด์มากขึ้น แต่ก็อย่าใช้คำที่ยาวเวิ่นเว้อ เน้นเนื้อ ไม่เน้นน้ำ เอาให้กระชับที่สุด
บนเว็บไซต์ของแบรนด์ควรมีส่วนนี้อยู่ด้วย แต่ก็อย่าขายอวยจนเกินไป นึกถึงมุมของผู้บริโภคที่เข้ามา พวกเขาคาดหวังที่จะได้อะไรจากการเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์ เราก็ควรจะใช้จุดนั้นมานำเสนอสิ่งที่เรามี
เนื้อหาแต่ละส่วนควรมีความหนักเบาที่ต่างกัน เรียบเรียงให้ดีว่าส่วนไหนหนัก ส่วนไหนเบา รวมไปถึงแถบเมนูที่จะพาผู้บริโภคไปยังส่วนต่าง ๆ ก็ควรทำให้ชัดเจน เน้นข้อมูลสำคัญนำมาเป็นหัวข้อแต่ละแถบ
คอนเทนต์ประเภทวิดีโอจะช่วยดึงดูดความสนใจผู้อ่านได้ดี บนหน้าเว็บไซต์แบรนด์ควรมีวิดีโอแทรกกลางระหว่างตัวอักษรให้ผู้บริโภคได้พักสายตาจากการอ่านบ้าง คนยุคนี้ไม่ชอบอ่านอะไรยาว ๆ ลองใช้วิดีโอเป็นตัวถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์บ้าง
มีผลสำรวจว่า 90% ของลูกค้าบอกว่ารีวิวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามาก ดังนั้นบนเว็บไซต์ของแบรนด์จึงควรมีส่วนนี้อยู่ด้วย เพราะเป็นการขายออนไลน์ที่ลูกค้าไม่สามารถจับต้องได้ในขณะตัดสินใตซื้อ จึงต้องมีรีวิวมาช่วยเสริมความมั่นใจและความน่าเชื่อถือของตัวสินค้าหรือบริการของแบรนด์ รวมไปถึงการแสดงพันธมิตรธุรกิจที่เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในวงกว้าง ซึ่งการรีวิวหรือพันธมิตรนั้นสามารถทำได้ทั้งแบบภาพนิ่งและวิดีโอ
ข้อมูลส่วนนี้สำคัญมาก แบรนด์ต้องใส่ส่วนนี้ลงบนเว็บไซต์ และต้องใส่ในจุดที่สังเกตได้ง่าย จะทำเป็นแถบเมนูหลัก เพื่อให้ลูกค้าคลิกเข้าไปดูก็ได้ ส่วนช่องทางการติดต่อที่ให้ไป แบรนด์ต้องมั่นใจแล้วว่าเป็นช่องทางที่ลูกค้าติดต่อกลับไปแล้วจะได้รับการตอบกลับอย่างรวดเร็ว
รู้ไหมว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 40% เลือกที่จะปิดเว็บไซต์หากเว็บไซต์ของคุณใช้เวลาดาวน์โหลดเกิน 3 วินาที ดังนั้นแบรนด์จึงต้องคำนึงถึงส่วนนี้ด้วยในการทำเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหาและรูปภาพมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปจนทำให้เว็บไซต์ต้องโหลดนาน นอกจากนี้แบรนด์ต้องติดตั้งเครื่องมือเก็บสถิติการใช้งานบนเว็บไซต์ด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าลูกค้าสนใจอะไร คลิกเข้าอ่านหน้าไหนบนเว็บไซต์ ส่วนไหนที่มีการเข้าชมน้อยที่สุด แบรนด์จะได้เอามาพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ต่อไป
รู้ไหมว่ากว่า 90% ของลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ให้ความสนใจ Header ก็มักจะสนใจปุ่ม Call To Action ด้วย ไม่ว่าจะเป็นปุ่มที่มีไว้ให้ลงทะเบียน กดติดตาม หรือซื้อสินค้า ควรใช้คำเห็นแล้วอยากคลิกเข้าไปดูเนื้อหาข้างในต่อ
อีกหนึ่งส่วนที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์มักให้ความสนใจก็คือบทความ ไม่ว่าจะเป็นบทความให้ความรู้ หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับแบรนด์ ต้องเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งในส่วนของบทความนี้ผู้คนสามารถเสิร์ชเจอบท Google ได้ด้วย หากบทความของเราเป็นสิ่งที่คนให้ความสนใจ หรือที่เรียกกันว่า SEO นั่นเอง คือการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับการค้นหาบน Google แบบ Organic หรือไม่เสียเงินค่าโฆษณา
เนื้อหาที่แบรนด์จะนำมาใส่บนเว็บไซต์นั้นต้องมีคุณภาพพอ จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการคัดเลือก จัดเตรียม การเรียบเรียงเนื้อหา และอย่าลืมตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงความทันสมัยของข้อมูลอยู่ตลอด
เว็บไซต์ที่ดูสวยและน่าเชื่อถือ ควรมีการคุมโทนสี ไม่ควรใช้สีเกิน 5 สี หากเว็บไซต์ใช้สีเยอะเกินไป อาจจะดูรกตา ไม่เป็นมืออาชีพ ลองสังเกตจากเว็บดังส่วนใหญ่จะใช้สีไม่เกิน 5 สีเท่านั้น
เว็บไซต์ที่ดีมักจะมี UX หรือ User Experience ที่เรียบง่ายจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ให้กับลูกค้าของแบรนด์ บนหลักการพื้นฐานง่ายๆ 3 ข้อนี้
สิ่งสำคัญของการทำเว็บไซต์ที่ดีคือแบรนด์ต้องมีการอัปเดตเว็บไซต์อยู่เสมอ อาจจะอัปเดตอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 บทความ เพื่อให้เว็บไซต์ดูมีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้การอัปเดตเว็บไซต์ยังมีผลต่ออันดับที่ดีขึ้นของ SEO อีกด้วยนะ
เว็บไซต์ที่ดี ไม่ว่าจะเข้าชมเว็บไซต์บทอุปกรณ์ไหนก็ต้องดีเหมือนกัน ทั้งบนเดสก์ท็อป แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ในขั้นตอนของการสร้างเว็บไซต์ แบรนด์ต้องออกแบบเพื่อรองรับทุกอุปกรณ์เพื่อการแสดงผลที่เหมาะสมที่ช่วยให้ง่ายต่อการอ่าน แบบไม่ต้องซูมภาพเข้าไปอีก
เมื่อรู้แล้วว่าองค์ประกอบสำคัญของการทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นมีอะไรบ้าง คุณก็สามารถไปสร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว