Monday - Sunday : 06.00 A.M. - 11.59 P.M.
KNmasters
เพิ่มเพื่อน
Knmasters
ฟอนต์ (Font) กับ Typeface คืออะไร? และแตกต่างกันอย่างไร?
KNmasters

Share This Post

FONT ฟอนต์ คืออะไร Font ฟอนต์ มาจากคำว่า “Fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม” ในสมัยก่อน หากต้องการพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์ นั่นหมายความว่า ถ้าเราต้องการตัวอักษร ตัวหนา ตัวกว้าง หรือ ตัวเอียง เราจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่ เพื่อรองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะและนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “Font”

ABCD EFGH IJKL MNOL QRST UVWX ZY

FONT ฟอนต์ จึงถูกสร้างให้แตกต่างกัน โดยให้ความหมายว่า ความแตกต่างระหว่าง FONT VS TYPEFACE

FONT คือ ชุดของตัวอักษรที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านของขนาด ความหนา ความกว้าง และความเอียง

TYPEFACE คือ ชุดของรูปแบบตัวอักษร แต่ละชุดจะประกอบด้วย พยัญชนะ สระ ตัวเลข เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” ให้มีรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีขนาด ความหนา ความกว้าง และความเอียงเท่ากัน

FONT เป็น “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่งของ Typeface เท่านั้น ซึ่งใช้ระบุขนาดที่เฉพาะเจาะจง เช่นความหนา ความกว้าง ความเอียง ของตัวอักษร ตัวอย่างเช่น Eurasia Condensed เป็นฟอนต์หนึ่ง Eurasia Extended ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง แต่ทั้ง 2 Fonts นั้น อยู่ใน Typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Eurasia”

ถาม? เปิดไฟล์งานเดียวกัน บนคอมสองเครื่อง จะเหมือนกันหรือไม่

ตอบ? ไม่เสมือนไป ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างหลักๆ คือ หากคอมติดตั้งโปรแกรมเวอชั่นเหมือนกัน ฟอนต์ติดตั้งเหมือนกัน ก็จะเหมือนกัน แต่หากฟอนต์ในทั้งสองเครื่องไม่เหมือนกัน หรือในอีกเครื่องหนึ่งไม่มี โปรแกรมก็จะไปเลือกฟอนต์ที่เครื่องนั้นมี ซึ่งอาจมีขนาดตัวอักษรเล็กหรือใหญ่กว่า ทำให้ย่อหน้า จำนวนบรรทัด แตกต่างกันไป แสดงผลไม่เหมือนกัน

แก้ไข? ให้เซฟไฟล์งานเป็นไฟล์ PDF ก็จะหมดปัญหาเรื่องการเปิดใช้งานต่างเครื่องกัน แต่หากเซฟไฟล์งาน PDF ก็จะไม่สามารถแก้ไขไฟล์งานได้ ต้องมีโปรแกรมแก้ไขโดยเฉพาะ โดยไฟล์งานPDFจะบรรจุไฟล์งานต่างๆ เพื่อให้การแสดงเหมือนเดิม ซึ่งก็บรรจุฟอนต์ไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันปัญหาเครื่องที่นำไปใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ทำให้เราสามารถเปิดเครื่องต่างๆได้โดยไม่มีปัญหา แต่หากต้องการแก้ไข เราต้องติดตั้งฟอนต์ที่ต้องการแก้ไขด้วย เนื่องจากเป็น ลิขสิทธิ์ของฟอนต์นั้นๆ ที่จะอนุญาติให้แก้ไขได้เฉพาะเครื่องที่มีฟอนต์นั้นติดตั้งอยู่ (หากขายฟอนต์เครื่องเดียวแล้วใช้งานได้ทุกเครื่องคงจะไม่ดี) เป็นเหตุผลให้ไม่สามารถแก้ไขไฟล์งาน PDF ได้ เพราะจะเปิดไฟล์งานเป็นภาษาต่างดาวบาง อ่านไม่ออกบ้าง ย่อหน้าไม่ได้บ้าง เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถแก้ไขไฟล์งาน PDF ได้

FONT ฟอนต์ ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น

FONT แบบ Serif คือ แบบอักษรที่มีขีดเล็กๆอยู่ที่ปลายขอบตัวอักษร มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบโรมัน (roman) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษรที่จารึกไว้ในหินของอาณาจักรโรมัน FONT ประเภทนี้ เหมาจะใช้ในงานที่เป็นทางการและต้องการความน่าเชื่อถือ

*** คำว่า Serif เป็นคำที่มาจากภาษาดัตช์ shreef  หมายถึงเส้นหรือจังหวะของปากกา***

FONT แบบ Sans Serif คือ แบบอักษรที่ไม่มีขีดที่ปลายขอบตัวอักษร มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า แบบกอทิก (gothic) Font ประเภทนี้ จะอ่านง่าย เหมาะสำหรับใช้พาดหัวเรื่องที่เป็นจุดเด่น และต้องการความทันสมัย

ถาม! ฟอนต์สามารถสร้างได้ไหม

ตอบ! สามารถสร้างได้ มีโปรแกรมสร้างฟอนต์สำเร็จรูปขายโดยทั่วไป ฟอนต์สามารถสร้างแล้วขายได้ด้วย ปัจจุบันมีฟอนต์ขายกันมากมาย ราคาแพงๆ ทำเป็นอาชีพก็ได้ ฟอนต์มีมากมายหลายแบบจนไม่สามารถติดตั้งฟอนต์ทั้งหมดในโลก เป็นคอนพิวเตอร์ทุกเครื่องได้ จึงต้องเลือกฟอนต์ที่ต้องการใช้งานเท่านั้น แต่ละคนชอบฟอนต์แตกต่างกัน แต่ละเครื่องจึงมีฟอนต์ที่ติดตั้งแตกต่างกัน ถึงจะมีมากกมาย แต่ความต้องการฟอนต์ใหม่ๆ ก็มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกได้ว่า ต้องพัฒนากันเรื่อยๆ

*****คำว่า “sans” มาจากฝรั่งเศส แปลว่า “ไม่มี” *****

โครงสร้าง Font จะเป็นการเชื่อมโยงเส้นกันประกอบเป็นตัวอักษร ไม่ใช่ภาพ ทำให้การใช้งาน ฟอนต์ที่ขนาดแตกกต่างกัน ภาพความคมชัดสูง หากยิ่งขยายฟอนต์ก็ไม่แตก ทางเทคนิคเรียกการประกอบกันของเส้นนี้ว่าเป็น เวคเตอร์ และพัฒนาต่อไปเป็นการใช้เวคเตอร์ กับรูปภาพ ทำให้รูปภาพของเรา ขยายได้แบบความคมชัดคงเดิม ไม่แตก เป็นที่มาของการ พัฒนาเครื่อง animation เวคเตอร์ต่างๆ

ถาม! ฟอนต์ภาษาไทย กับอังกฤษ ต่างกันอย่างไร?

ตอบ! เหมือนกัน ด้วยหลักการทำฟอนต์แบบเวคเตอร์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรู้ว่านี้เป็นเพียงรหัสเวคเตอร์ ที่แสดงผลตามที่เราต้องการเท่านั้น ดังนัั้นในด้านคอมพิวเตอร์ คือฟอนต์ที่แสดงผลต่างกันเท่านั้น

สรุป Font ฟอนต์ คืออะไร?

FONT เป็นองค์ประกอบอันดับต้นๆที่จะทำให้คนดูรู้สึกอยากอ่านหรือไม่อยากอ่านงานของเรา การเลือกใช้ Font ที่เหมาะสม จะสามารถดึงดูดสายตาของกลุ่มเป้าหมายได้ดี และทำให้เกิดการจดจำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ประกอบด้วยเวคเตอร์ตัวอักษรหรือเส้นที่ลากจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งประกอบกันเป็นตัวอักษร ขอดีของฟอนต์คือ สามารถขยายได้โดยตัวอักษรไม่แตก โดยเครื่องแตกต่างกันก็ติดตั้งฟอนต์ ที่เหมือนกันเพื่อให้เครื่องสามารถแสดงผลได้เหมือนกัน หากไม่ได้ติดตั้งฟอนต์นั้นๆ เครื่องจะเรียกฟอนต์ที่เครื่องนั้นๆมีมาแสดงผล


Font กับ Typeface แตกต่างกันอย่างไร?

คนทั่วไปน่าจะคุ้นชินกับการเรียกรูปแบบตัวอักษรด้วยคำว่า “ฟอนต์ (Font)” กันเป็นอย่างดี แต่จริงๆ มันมีอีกคำหนึ่ง คือ “ไทป์เฟซ (Typeface)” ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่ปรากฏอยู่ในวงการพิมพ์มาอย่างยาวนาน และบ่อยครั้งที่มีการใช้สองคำนี้สลับกันโดยที่ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเชิงเทคนิคแล้ว คำว่า “Font” และ “Typeface” นั้น มีความหมายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในการทำงานระดับมืออาชีพ การใช้สองคำนี้แทนกันแบบผิด ๆ อาจทำให้ได้ผลลัพธ์งานที่ผิดพลาดไม่ตรงตามโจทย์ที่สื่อสารก็เป็นได้

ในบทความนี้เลยจะมาอธิบายความแตกต่างของคำว่า “Font” และ “Typeface” ให้เข้าใจกันมากขึ้น จะได้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้อง

Font คืออะไร? (What is Font?)

มาเริ่มต้นด้วยคำที่เราคุ้นเคยกันดีกว่า นั่นคือคำว่า “Font”

โดยคำว่า “ฟอนต์ (Font)” หมายถึง ความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักเส้น และขนาดของ Typeface การที่เราเลือกใช้งานตัวอักษรแบบตัวบาง (Light) ตัวหนา (Bold), ตัวเอียง (Italic), ขนาดตัวอักษร 8, 10,…, 16,18,… ฯลฯ อะไรพวกนี้ เราจะเรียกว่า Font นั่นเอง

Font กับ Typeface คืออะไร ? และแตกต่างกันอย่างไร ?

Typeface คืออะไร ? (What is Typeface?)

Typeface นั้นคือชุดรูปแบบตัวอักษร โดยการออกแบบ Typeface อาจจะมี Font แค่รูปแบบเดียว หรือมี Font หลายรูปแบบก็ได้

เช่น Helvetica เป็นชื่อของ Typeface ซึ่งเวลาใช้งานเราก็จะเลือกรูปแบบ Font ได้ว่าจะใช้ Helvetica Bold หรือ Helvetica Italic ได้


ภาพจาก : https://mymodernmet.com/helvetica-typeface/

Typeface มีกี่ประเภท ? (How many types of Typeface?)

หากคุณอยู่ในวงการสิ่งพิมพ์ หรืองานออกแบบ คุณน่าจะเคยได้ยินกับคำว่า “ฟอนต์แบบ Serif” หรือ “ฟอนต์แบบ Sans Serif” กันมาบ้าง อันที่จริง ถ้าจะให้พูดให้ถูกต้อง เราควรจะเรียกว่า “ไทป์เฟซแบบ …” จึงจะถูกต้อง

โดยในความเป็นจริงนั้น Typeface บนโลกใบนี้นั้น มีจำนวนมหาศาล แต่มันสามารถแบ่งออกเป็นได้ 5 รูปแบบใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

1. Serif

Serif เป็นรูปแบบ Typeface ที่เก่าแก่ที่สุด หากไปค้นหาภาพสิ่งพิมพ์เก่า ๆ จะพบว่าจะเป็น Serif ทั้งหมด แต่ถึงจะบอกว่าเก่า ปัจจุบันก็ยังเป็นรูปแบบ Typeface ที่ยังสามารถพบเห็นได้เป็นประจำ

สำหรับ Typeface แบบ Serif สามารถดูได้จากการที่มันมี “เท้า (Foot)” อยู่ในการออกแบบตัวอักษร ซึ่งคำว่า Serif นั้นแปลว่า เส้นขวางที่เท้าของตัวอักษรโรมัน และยังเป็นคำที่พ้องเสียงกับคำว่า “Schreef” ในภาษาดัตช์ที่แปลว่า “เส้น” อีกด้วย


Transitional Serifs
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/

2. Sans Serif

Sans เป็นภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า “ปราศจาก” เมื่อรวมกับคำว่า “Serif”  มันจึงสื่อถึงการออกแบบตัวอักษรที่ไม่มี “เท้า” นั่นเอง

หาก Serif เป็นรูปแบบ Typeface ที่ให้ความรู้สึกเก่าแก่ Sans Serif ก็เป็น Font ที่ออกแบบมาให้ดูมีความทันสมัย ไม่เชื่อลองดูตามเว็บไซต์ หรือโปสเตอร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ หรือในเว็บเบราว์เซอร์ที่คุณผู้อ่านกำลังใช้งานอยู่ ลองสังเกตเมนูต่าง ๆ ภายในโปรแกรม ก็จะเห็นว่าใช้ Font แบบ Sans Serif ทั้งหมด


Futara Sans Serif
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/

3. Slab Serif

โดยพื้นฐานแล้ว Slab Serif เป็น Typeface แบบ Serif รูปแบบหนึ่ง แต่รูปแบบการออกแบบของมันได้รับความนิยมจนบางคนแยกมันออกมาเป็น Typeface แบบใหม่ขึ้นมา

Slab Serif ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรธที่ 19 ที่สำนักพิมพ์ต้องการรูปแบบ Typeface ที่มีความเตะตาคนที่พบเห็น ซึ่งนักออกแบบก็เลยนำ Serif มาปรับปรุงให้เส้นตัวอักษรมีความหนามากกว่าปกติ


Slab Serif
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/

4. Script

สำหรับ Typeface แบบ Script หรือที่หลายคนชอบเรียกกันว่า Font ลายมือ เป็น Typeface ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับลายมือ มีความโค้งไม่ตรงทื่อเหมือนไทป์เฟซแบบตัวพิมพ์

แม้ว่าTypeface แบบ Script ส่วนใหญ่นั้น จะอ่านค่อนข้างยาก แต่ก็ให้ความรู้สึกที่สง่างามดูเรียบหรู มันจึงนิยมใช้ในพวกใบประกาศนียบัตร หรือบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีรายละเอียดข้อมูลมากนัก


Formal Script
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/

5. Decorative

Decorative เป็น Typeface ที่ค่อนข้างใหญ่ และมีความหลากหลายมากที่สุด Typeface ประเภทนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานป้าย, พาดหัวประเด็นสำคัญ หรือใช้ในการพิมพ์ชื่อโครงการต่างๆ ที่ต้องการความโดดเด่น และหนักแน่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Typeface ประเภทนี้มีอิสระในการออกแบบค่อนข้างสูงสมกับชื่อ Decorative ที่แปลว่า “ตกแต่ง” นักออกแบบอาจจะใส่ลายเส้น, ภาพการ์ตูน หรือลวดลายต่างๆ เข้าไปใน Typeface


Grunge
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/

Typography

หากคุณสนทนาเกี่ยวกับ Font และ Typeface อยู่ คุณอาจจะได้ยินคำว่า Typography ด้วย

โดยคำว่า “Typography” นั้นหมายถึงการออกแบบวิธีจัดวางตัวอักษร เพื่อให้งานออกแบบออกมีความสุนทรีย์สวยงาม และเหมาะสมกับข้อความที่ต้องการจะสื่อสาร ทั้งนี้ Typography ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ออกแบบตัวอักษรขึ้นมาเอง ส่วนใหญ่เป็นเพียงคนที่ทำงานโดยใช้ Font และ Typeface ที่มีอยู่แล้ว


ตัวอย่างการ Typography ของ Aleksandar Popovski
ภาพจาก : https://dribbble.com/shots/7015147-The-Joker-Typography-Illustration

Calligraphr

รู้จักคำว่า Typography กันไปแล้ว เราเลยคิดว่าควรจะเอ่ยถึงคำว่า “Calligrapher” ด้วย

Calligraphr หมายถึงการประดิษฐ์ตัวอักษร หน้าตาของ Typeface ต่างๆ ที่เราซื้อ หรือดาวน์โหลดมาใช้งาน ล้วนแต่ผ่านการออกแบบขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น โดยผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า Calligrapher ซึ่งผู้ออกแบบไม่จำเป็นจ้องออกแบบมาให้ครบทุกตัวอักษรก็ได้ บางคนก็ออกแบบตัวอักษรขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กับงานที่ต้องการเพียงไม่กี่ตัว


คำว่าไทยแลนด์ ที่สามารถอ่านได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

https://tips.thaiware.com/1978.html

Table of Contents