Monday - Sunday : 06.00 A.M. - 11.59 P.M.
KNmasters
เพิ่มเพื่อน
Knmasters
การถ่ายภาพเบื้องต้น
KNmasters

Share This Post

1. ความหมายและความเป็นมา

การถ่ายภาพ มาจากภาษาอังกฤษว่า “Photography” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “Phos” และ “Graphein” คำว่า “Phos” หมายถึง แสงสว่าง และ “Graphein” หมายถึง การเขียน เมื่อรวมคำทั้งสองแล้วจึงมีความหมายว่า การเขียนด้วยแสงสว่าง

การถ่ายภาพเป็นเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพ โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ กล้องถ่ายภาพ วัสดุไวแสง และแสงสว่าง ฉะนั้นในการผลิตภาพถ่าย จะต้องมีความรู้และทักษะการใช้กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ประกอบ ฟิล์มกระดาษอัดภาพ น้ำยาชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการล้างฟิล์มและอัดขยายภาพ หลักการในการถ่ายภาพรวมทั้งความรู้ด้านศิลปะ แสง สี การจัดองค์ประกอบของภาพ เป็นต้น

ตามประวัติการสื่อความหมายของมนุษย์ พบว่า มนุษย์รู้จักการใช้ภาพในการติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ ก่อนที่มนุษย์ จะรู้จักการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johann Amos Comenius) เป็นบุคคลคนแรกที่ได้นำภาพมาประกอบบทเรียนในหนังสือ Orbis Picture ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกของโลกที่มีภาพประกอบ จุดประสงค์ก็คือ เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพที่เป็นรูปธรรม เข้าใจในเนื้อหาสาระได้ถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนึ่งภาพมีความหมายมากกว่าคำพูดหรือการเขียนนับพันคำ”

2. ชนิดของกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล

  1. กล้องคอมแพ็ค (Digital Compact Camera) คอมแพคเป็นกล้องขนาดเล็กมีคุณภาพดี ตัวกล้องทําจากพลาสติกแข็งหรือไฟเบอร์ บางยี่ห้อทําจากโลหะมีน้ำหนักเบาช่องมองภาพแยกจากเลนส์ไม่สามารถปรับระยะชัด ด้วยมือหรือเปลี่ยนรูรับแสงได้ บางรุ่นมีไฟแฟลชในตัวใช้งานง่ายเพียงมองผ่านช่องมองภาพแล้วกดเท่านั้น กล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในกลุ่มนักถ่ายภาสมัครเล่นจนถึงนักถ่ายภาพ อาชีพ
  2. กล้อง SLR (Single Lens Reflex) เป็นกล้องที่สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถปรับตั้งค่าเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้มากขึ้น มีการซูมที่มากขึ้น และคุณภาพของภาพที่มากขึ้น บางรุ่นสามารถใส่อุปกรณ์เสริมได้ เช่น แฟลช ตัวเสริมเลนส์ แต่ก็มีข้อจำกัดในบางเรื่อง เช่น ปรับค่าที่ยังไม่สามารถปรับได้ทั้งหมด การทำงานจะต่างจากกล้องธรรมดาทั่วไป นั่นคือ ภาพที่เราเห็นจะถูกบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มโดยตรง ต่างจากกล้องคอมแพคที่เราเห็นภาพจากช่องมองภาพ
  3. กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) แปลตามตัวก็คือ กล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว จะเห็นได้ตามที่มืออาชีพใช้กัน เป็นกล้องที่มีขนาดใหญ่ ให้คุณภาพของภาพที่สูง และสามารถปรับค่าเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ทุกอย่าง มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถใส่อุปกรณ์เสริมได้หลายอย่าง และสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งหมายความว่า ทำให้ได้ภาพที่หลากหลาย และคุณภาพของภาพที่มากขึ้นนั่นเอง

3. ประโยชน์ของการถ่ายภาพ

  1. บันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ การบันทึกเรื่องราวด้วยภาพทำให้ได้ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ในการศึกษาเป็นอย่างดี
  2. การสื่อสาร และการศึกษา ภาพถ่ายสามารถถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลไปยังผู้รับ โดยผ่านสื่อแขนงต่างๆ
  3. ความงาม การถ่ายภาพช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ การใช้หลักการทางศิลปะในการถ่ายภาพ หรือที่เรียกว่า ศิลปะภาพถ่าย
  4. ความเพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ช่วงเวลาให้เกิดประโยชน์ ถือเป็นงานอดิเรกสำหรับผู้รักการถ่ายภาพ
  5. อาชีพ การถ่ายภาพเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชลแขนงต่างๆ มากมาย ซึ่งต้องใช้ภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเชิงธุรกิจ

4. การใช้และการบำรุงรักษากล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล

การใช้และบำรุงรักษากล้องถ่ายภาพดิจิตอลอย่างถูกวิธี ย่อมหมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพของกล้องถ่ายภาพให้สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตลอดอายุ การใช้งาน ซึ่งจะขอแนะนำวิธีการใช้และบำรุงรักษากล้องถ่ายภาพดิจิตอลอย่างถูกวิธีดังนี้

ใช้งานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลมีระบบการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน เมื่อเราใช้งานจึงจำเป็นต้องใช้อย่างทะนุถนอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง

ตรวจสอบการใช้งานก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น สวิตซ์ปิดเปิดกล้อง, ฝาครอบเลนส์, แบตเตอรี่

เลือกใช้แบตเตอรี่ให้ถูกต้องกับลักษณะการใช้งาน โดยดูได้จากคู่มือการใช้กล้องที่กำหนดมา ไม่ควรใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือชำรุดและควรนำแบตเตอรี่ออกจากกล้อง ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

ทำความสะอาดกล้องอย่างสม่ำเสมอ โดยควรจะทำความสะอาดหลังจากการใช้งานทุกครั้ง และต้องทำความสะอาดอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณเลนส์และช่องใส่การ์ดข้อมูล ต้องให้ความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ

เก็บกล้องในที่ที่ไม่มีฝุ่นละอองหรือห่างจากความร้อน เช่น ไม่ควรเก็บกล้องไว้ในตู้เสื้อผ้า ในรถหรือที่มีฝุ่นละอองมาก ควรเก็บไว้ในตู้เก็บโดยเฉพาะที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้จะดีที่สุด

หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผ่นบันทึกข้อมูลโดยตรง เนื่องจากแผ่นบันทึกข้อมูลบางชนิดไม่ได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดรอยขีด ข่วน เมื่อจำเป็นจะต้องใช้งานควรสัมผัสเฉพาะบริเวณขอบของแผ่นบันทึกข้อมูล หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณหน้าสัมผัสเพราะอาจเกิดรอยขีดข่วนหรือความชื้นจาก เหงื่อและจากการสัมผัสอาจทำอันตรายแก่แผ่นบันทึกข้อมูลได้

ไม่ควรนำแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในกล้องถ่ายภาพ ทุกครั้งเมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วควรนำแบตเตอรี่ออกจากกล้อง เนื่องจากกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลจะทำงานตลอดเวลาเมื่อมีแบตเตอรี่บรรจุอยู่ ถึงแม้เราจะปิดสวิทช์กล้องแล้วก็ตาม

5. การถ่ายภาพระยะต่างๆ

  1. ECU ย่อมาจาก Extream Close Up (ภาพขนาดใกล้มาก) ถ่ายรายละเอียดเฉพาะส่วน เช่น เม็ดเหงื่อบนจมูก ภาพสะท้อนในดวงตา
  2. CU ย่อมาจาก Close up (ภาพขนาดใกล้) ภาพ CU จะใช้สำหรับเจาะรายละเอียดบนใบหน้า (หรือส่วนอื่นๆก็ได้) เน้นความสำคัญเล็กๆ ในรายละเอียดของ object นั้นๆ ขนาดของภาพจะเห็นประมาณ หัวถึงคาง เรียกว่า CU ดังภาพ
  3. MS ย่อมาจาก Medium Shot (ภาพขนาดปานกลาง) ระยะเห็นครึ่งตัวคน เห็นสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหว ของตัวละครชัดจนขึ้น
  4. LS ย่อมาจาก Long Shot (ภาพขนาดไกล) เห็นรายละเอียดของสภาพแวดล้อม ว่าทำอะไรที่ไหน ส่วนใหญ่จะใช้เล่าเกี่ยวกับสถานที่ เวลา
  5. ELS ย่อมากจาก Extra long shot (ภาพขนาดไกลมาก) ถ่ายสิ่งที่อยู่ไกล / ให้เห็นมุมกว้าง / บางทีเรียกว่า ภาพมุมกว้าง แสดงสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป

6. มุมมองภาพ

จุดดูภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์และจอโทรทัศน์ ผู้กำกับจะกำหนดว่าจะเสนอภาพจากมุมใด คือให้ผู้ดูมองเห็นภาพจากมุมใดจึงจะน่าสนใจและสมจริงกับเรื่องราวที่เสนอ มุมมองภาพหรือที่นิยมเรียกว่ามุมกล้องโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 3 มุม ได้แก่

  1. ภาพมุมสูง (High Angle) – ตั้งกล้องถ่ายภาพยนตร์และโทรทัศน์ไว้สูงกว่าวัตถุ ถ้าเป็นภาพสถานที่กว้างใหญ่ การถ่ายภาพไกลจากมุมสูงทำให้เห็นภาพได้กว้างไกล เป็นการเปิดฉากแนะนำสถานที่ได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นการถ่ายคน จะเป็นการเสนอให้เห็นว่าคนๆ นั้นไม่สำคัญ เป็นคนต่ำต้อย ไม่สง่าผ่าเผย
  2. ภาพมุมระดับสายตา (Eye Level Angle) – ภาพมุมระดับสายตาเป็นภาพที่ตั้งกล้องในระดับสายตาของคน หรือของวัตถุที่ถูกถ่าย ภาพในระดับสายตาเพื่อสื่อความหมายว่าภาพที่ปรากฏจะเป็นภาพให้ความรู้สึก ธรรมดา ไม่เด่นอะไร
  3. ภาพมุมต่ำ (Low Angle) – ภาพมุมต่ำเป็นภาพที่ตั้งกล้องถ่ายในระดับต่ำกว่าคนหรือวัตถุที่ถูกถ่าย เป็นภาพที่แหงนดู สื่อความหมายหรือให้เกิดความรู้สึกว่าคนหรือวัตถุที่ถูกถ่ายมีความสำคัญ มากกว่าปกติ น่าเคารพ ถือนับ

Table of Contents