17 เทคนิคถ่ายภาพให้คมกริบ หรือเอาง่ายๆ เป็นการ การถ่ายให้ภาพ “คมชัด” ในที่นี้ซึ่งพยายามจะนำเสนอหมายถึงภาพที่แสดงให้เห็นถึงตัวแบบหลักมีความชัดเจน โฟกัสเข้า ไม่เบลอหรือมัว สามารถให้ภาพเล่ารายละเอียดได้ครบถ้วน
ดังนั้นเทคนิคการถ่ายภาพให้คมชัดในนี้จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับกล้องที่สั่นไหวได้ และหลายเทคนิคอาจจะใช้ได้บางสถานการณ์นั่นเอง ถ้าเราสามารถที่จะทำความเข้าใจและฝึกฝนในการควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ภาพของเราก็จะได้ความคมชัดอย่างที่ต้องการครับ
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ เลนส์ของเราจะมีช่วงที่ค่ารูรับแสงแล้วให้ภาพคมที่สุด ส่วนใหญ่ก็จะประมาณ F8 ที่เห็น ๆ กัน ถ้าเราอยากรู้ว่าเลนส์ของเรานั้นมีความคมที่สุดอยู่ที่ช่วงไหนก็ทำได้สองอย่างด้วยกัน คือทดสอบเอง ถ่ายเทสต์ที่ F แล้วก็มาเช็คดู หรืออีกอย่างหนึ่งคือไปเปิดดูในเว็บรีวิวก็ได้บางคนเขาจะทดสอบมาให้ดูครับ
เวลาที่โฟกัสภาพแล้วเราต้องการความแม่นยำและความคมชัดในจุดนั้นอย่างเต็มที่ ให้เราใช้การโฟกัสแบบจุดเดียว หรือ Single Point Auto Focus ซึ่งจะทำให้กล้องของเราสามารถที่จะโฟกัสแบบรวดเร็วได้ในจุดเดียว เมื่อเราถ่ายภาพจะได้แน่ใจว่ากล้องโฟกัสไปยังจุดที่ต้องการ และเช็คโฟกัสหลังการถ่ายเสมอว่าเข้าเป้าหรือเปล่า มีโฟกัสหลุดหรือเปล่า
ยิ่งค่า ISO ของกล้องสูงเท่าไหร่ สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในภาพมันก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นหากเราเป็นคนที่ซีเรียสในเรื่องความคมชัดมาก ๆ การถ่ายภาพเป็นไปได้ก็แนะนำให้ใช้ ISO ต่ำสุด เพื่อไม่ให้เกิดสัญญาณรบกวนในภาพนั่นเองครับ
เป็นเรื่องของสัจธรรมและด้านการตลาด เลนส์ในระดับโปรมีความสามารถที่จะให้รายละเอียดของภาพได้ดี ทั้งความคม ความเคลียร์ การรับแสงที่มากกว่า และราคาแพงกว่า แน่นอนว่าคนที่หวังภาพคม ๆ ก็ต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้นครับ และแนะนำว่าให้ใช้เลนส์ Fix ด้วยนะ
ส่วนใหญ่แล้วฟิลเตอร์คุณภาพสูง ๆ จะไม่ค่อยมีปัญหากับภาพสักเท่าไหร่ แต่ก็มีฟิลเตอร์บางอย่างเหมือนกันถ้าคุณภาพไม่ดีพอจะทำให้เกิดแฟลร์ในภาพเวลาถ่ายย้อนแสง หรือไม่ก็ทำให้ความคมของภาพลดลงไป การที่มีฟิลเตอร์ที่คุณภาพอาจจะไม่ดีพอนั้นอยู่ที่หน้าเลนส์ก็ส่งผลต่อภาพที่จะได้เหมือนกัน ลองเช็คดูครับว่าฟิลเตอร์ที่เราใช้กับเลนส์ส่งผลต่อความคมของภาพหรือเปล่า ถ้าส่งผลต่อภาพก็มีสองกรณีที่แน่นะคือ ซื้อฟิลเตอร์คุณภาพสูงมาใช้ไปเลย หรือไม่ก็ถอดฟิลเตอร์ออกเวลาถ่ายครับ
เวลาที่เราถ่ายภาพได้แล้ว แนะนำว่าให้เราเช็คโฟกัสเสมอว่ากล้องโฟกัสเข้าไหม เราต้องปรับกล้องใหม่หรือแก้ไขอะไรใหม่หรือเปล่า ดังนั้นการใช้จอ LCD เช็คโฟกัสทุกครั้งในภาพที่ซีเรียส ๆ จะช่วยลดข้อผิดพลาดได้เยอะมาก นอกจากนี้เราสามารถที่จะเช็คโฟกัสก่อนถ่ายได้ในกรณีที่ถ่ายโหมด Manual ด้วยจอ LCD ได้อีกด้วย แนะนำว่าให้เช็คทั้งก่อนถ่ายและหลังถ่ายเพื่อความแน่ใจจะดีที่สุดครั
จุดประสงค์หลักของขาตั้งเลยก็คือให้กล้องเนี่ยนิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นการที่เราใช้ขาตั้งเราควรเช็คด้วยว่าในพื้นที่ ที่เราเอาขาตั้งไปกลางและเอากล้องไปไว้บนขาตั้งตรงนั้น มันนิ่งพอแน่นอนใช่หรือเปล่า บ่อยครั้งที่เราอาจจะใช้ความสูงของขาตั้งกล้องมากเกินไป ทำให้กล้องมันโยกเยกได้ง่าย ยิ่งกล้องหนัก ๆ เลนส์หนัก ๆ เวลาถ่ายภาพทีนึง แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้น มันก็อาจจะทำให้ภาพเบลอได้เหมือนกัน
นอกจากนี้ควรเลือกใช้ขาตั้งให้เหมาะสมกับงานด้วย ไม่ใช่เพื่อให้กล้องนิ่งเพียงอย่างเดียวนะ ยังทำให้กล้องเราปลอดภัยด้วย บางครั้งขาตั้งเราอาจจะไหวเมื่อไม่มีลมแรงเข้ามาปะทะ แต่ถ้ามีแรงลมมันอาจจะเอาไม่อยู่ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกขาตั้งกล้องให้เหมาะสมกับงานที่ถ่ายด้วยครับ
การที่เรากดปุ่มชัตเตอร์ในกล้องจะทำให้ภาพเราเบลอทันทีเมื่อถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก ๆ หรือพวก Long Exposure ทั้งหลาย ดังนั้นคนที่ถ่ายภาพแนว Landscape ที่ตั้งใจจะถ่ายด้วยชัตเตอร์ต่ำ ๆ ลากความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ ก็ควรจะมีสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทชัตเตอร์ไว้ด้วย
เมื่อกล้องอยู่บนขาตั้งเราควรจะต้องปิดระบบกันสั่นที่อยู่บนกล้องและเลนส์ด้วย ทำไมล่ะ เหตุผลเพราะว่ากล้องของเราอยู่บนขาตั้งอย่างมั่นคงแล้วแต่ตัวกล้องหรือเลนส์ถ้ามีระบบกันสั่นอยู่ มันก็ยังพยายามขยับเพื่อให้กล้องนิ่งนั่นเอง แต่มันไม่นิ่งหรอก มันก็จะทำให้ภาพเบลอได้เหมือนกัน
นอกจากนี้สำหรับกล้องนะ กล้องบางรุ่นเริ่มมีระบบที่ดีขึ้น เมื่อถ่ายภาพด้วย Long Exposure หรือความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ กล้องจะปิดกันสั่นให้เองอัตโนมัติซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับเลนส์เราอาจจะต้องเตือนตัวเองให้ปิดกันสั่นด้วยนะครับ
กล้อง DSLR จะมีพวกชุดยกกระจกที่อยู่ภายในตัวกล้อง ซึ่งปกตินั้นพอเรากดถ่ายภาพแล้วตัวกล้องจะยกกระจกขึ้น ซึ่งด้านในมันเป็นกลไก มันมีความเคลื่อนไหวและเกิดแรงสั่นสะเทือนได้ เวลาที่เราถ่ายภาพด้วยชัตเตอร์นาน ๆ ส่วนใหญ่ก็มีโอกาสทำให้ภาพเบลอด้วยเหมือนกัน ดังนั้นให้ใช้ Mirror Lockup ด้วยครับ
บ่อยครั้งที่เราจะเจอสถานการณ์ที่ไม่ได้เอื้อต่อการถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งของเรา ยกตัวอย่างเราอาจจะอยู่ในโบสถ์ที่มีข้อห้าม หรือว่าอยู่ด้านบนตึกหรือภายในอาคาร บางสถานที่ห้ามจริง ๆ ดังนั้นเราก็ต้องตั้งค่าให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพ และใช้เทคนิคในการถือกล้องเพิ่มด้วย
บางสถานที่เขาไม่ได้ให้เราตั้งขาตั้ง เราอาจจะเลือกวางกล้องกับพื้นที่ ที่มันรับน้ำหนักกล้องได้ดี และผิวเรียบ อาจจะเป็นขอบกำแพง ผนัง เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นประคองกล้องได้อย่างมั่นคง และนิ่งนั่นเอง (ให้ความสามารถเหมือนขาตั้ง) ซึ่งแม้ว่าจังหวะการถ่ายภาพอาจจะไม่ได้ดีเหมือนการใช้ขาตั้ง แต่ช่วยได้แน่นอนครับ
ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ๆ บ่อยครั้งจะหยุดภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ไม่ทัน นอกจากนี้บางครั้งชัตเตอร์เราอาจจะไม่พอสำหรับมือของเราที่อาจจะสั่นด้วย ดังนั้นความเร็วชัตเตอร์จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ภาพของเราหยุดนิ่งได้เวลาที่ถ่าย
วิธีการที่ดีที่สุดที่ผมอยากจะแนะนำคือให้ฝึกเลยว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำที่สุดที่เราถือถ่ายได้ทั่วไป วัตถุไม่ได้เคลื่อนที่เร็ว เราจะใช้ชัตเตอร์ประมาณไหน อย่างผมอาจจะ 1/60 ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ๆ หรือสภาพที่ตัวผมเองเหนื่อยอาจจะถือกล้องไม่นิ่งพอก็ใช้ 1/125-1/200 เป็นต้นครับ
การถ่ายภาพที่รัวหน่อยหรือย้ำหน่อยจะช่วยเพิ่มจังหวะในการถ่ายภาพของตอนนั้นได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เรามีโอกาสได้ภาพเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง สังเกตว่าการถ่ายภาพงานอีเวนต์ หรือกิจกรรมอะไรที่ซีเรียส ๆ หน่อย ก็มักจะมีการถ่ายซ้ำ ๆ หลายช็อตในจังหวะเดียวเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ภาพที่มากขึ้นครับ
ในกรณีที่เราไม่ได้ถ่ายภาพด้วยการใช้ขาตั้งกล้อง แต่เป็นการถือถ่ายภาพตามปกติ ให้เราเปิดระบบกันสั่นที่ตัวบอดี้กล้องและเลนส์ไว้ด้วย เพราะมันช่วยทำให้ได้ภาพนิ่งมาก ๆ ครับ
เหมือนเทคนิคนี้ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่แนะนำว่ามันก็ส่งผลเหมือนกัน บางครั้งร่างกายเราอาจจะเหนื่อย หรืออาจจะแบกกระเป๋าหนัก ๆ อยู่ มันทำให้แรงที่เราส่งออกมาสะเทือนถึงตัวกล้องได้ แนะนำว่ายืนถ่ายภาพให้มั่นคงหรือบางทีในพื้นที่แสงน้อยมาก ๆ ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าปกติโดยไม่มีขาตั้ง อาจจะเอาตัวเองพิงกำแพงเพื่อให้กล้องนิ่งขึ้นก็ได้ครับ
Software สำหรับตกแต่งภาพอย่างเช่นโปรแกรม Photoshop จะมีเครื่องมือที่คอยจัดการเรื่องการเพิ่มความคมให้กับภาพอยู่ ยกตัวอย่าง Sharpening Tools ซึ่งมันจะทำหน้าที่ทำให้รายละเอียดต่างๆ ในภาพมีความคมมากขึ้น แต่ควรใช้อย่างเหมาะสมครับ เพราะการเพิ่มความคมที่หนักมือมากเกินไปทำให้ภาพดูแย่ลงได้ด้วยนะ
เรื่องง่ายๆ สำหรับการถ่ายภาพ Portrait ซึ่งคนที่ถ่ายภาพแนวนี้อาจจะรู้แล้วแหละ การถ่ายภาพบุคคลควรจะโฟกัสที่ตาให้ชัด บ่อยครั้งเราจะพลาด ไปชัดตรงขนตาบ้าง จมูกบ้างแบบไม่ได้ตั้งใจ (เว้นภาพที่ตั้งใจไม่ให้ชัดที่อื่นไม่ใช่ตาอันนั้นไม่นับ) ดังนั้นให้โฟกัสที่ตาด้วยนะครับ