Monday - Sunday : 06.00 A.M. - 11.59 P.M.
KNmasters
เพิ่มเพื่อน
Knmasters
5 วิธีถ่ายภาพอาหารยังไงให้น่ากิน เทคนิคกระตุ้นต่อมน้ำลายที่คนทำคอนเทนต์สายกินต้องรู้!
KNmasters

Share This Post

ถ่ายอาหารยังไงให้สวย? นี่คงเป็นคำถามที่พบเห็นจนเบื่อสำหรับเหล่านักกินแต่ไม่ใช่นักถ่าย ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ “คอนเทนต์สายกิน” กำลังเป็นที่นิยมทั้งของผู้คนเพราะสามารถทำได้ง่ายและสร้างความน่าสนใจได้ไม่ยาก

ฉะนั้นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำคอนเทนต์อย่าง “การถ่ายภาพอาหาร” จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถถ่ายภาพอาหารออกมาได้น่ากินเสมอไป หากแต่ต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ที่จะทำให้ภาพอาหารของพวกคุณมีความน่ากินยั่วน้ำลายขึ้นอีกหลายเท่า และยังสามารถต่อยอดในการทำคอนเทนต์รูปแบบอื่นได้อีกเช่นกัน

แอดเลยขอนำ 5 เทคนิคการถ่ายอาหารพื้นฐาน ที่ต่อให้ไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพก็สามารถรังสรรค์ภาพถ่ายอาหารสุดพิเศษให้กับคนดูได้ มาแนะนำให้กับเหล่าสายกินได้อวดภาพถ่ายอาหารสวยๆ ให้คนอื่นอิจฉากันไปเลยทีเดียว

1. ถ่ายภาพจากมุมบนให้ได้ทรงเลขาคณิต ชักจูงสายตาด้วยกรอบของภาชนะ

เทคนิคนี้สามารถนำไปปรับใช้กับการถ่ายรูปสิ่งของแบบอื่นได้อีกมาก แต่ถ้านำมาใช้กับการถ่ายอาหารจะทำให้อาหารเป็นที่น่าสนใจแบบภาพรวมหรือก็คือมันจะดึงสายตาของผู้ได้เห็นให้เข้าไปอยู่ตรงส่วนกลางของอาหารจานนั้น

ลักษณะการถ่ายจะเน้นไปที่มุมจากด้านบนให้ภาชนะที่ใส่อาหารเหล่านั้นออกมาเป็นรูปทรงเลขาคณิตเพียงมิติเดียว หากมีการเคลื่อนของมุมกล้องที่ทำให้รูปทรงผิดเพี้ยนไปแม้นิดเดียวจะทำให้ความสนใจของผู้ได้เห็นหลุดออกไปจากอาหารที่อยู่ในจานไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะพฤติกรรมการมองของแต่ละคน 

ผลลัพธ์เมื่อถ่ายออกมาได้เป็นรูปทรงเลขสคณิตตามลักษณะภาชนะ จะเป็นการตีกรอบในส่วนของอาหารราวกับมีภาชนะเป็นกรอบรูป พฤติกรรมการมองของมนุษย์มักจะมองจากส่วนกลางที่มีกรอบจำกัดสายตาเป็นอย่างแรก นี่จึงทำให้การออกแบบให้ภาพออกมาเป็นมิติเดียวเป็นเทคนิคสำคัญในการดึงดูดสายตาของผู้คนให้มองไปที่อาหาร

2. ใช้พฤติกรรมของมนุษย์เพิ่มความน่าสนใจให้กับอาหาร

นอกจากความน่าทานของอาหารแล้ว พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมกจากการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ไปจนถึงกระบวนการกินที่ต้องมีอวัยวะเหล่านั้นรวมอยู่ด้วย ย่อมเป็นเทคนิคสำคัญในการทำให้รูปภาพอาหารมีความน่าสนใจมากขึ้น

ลองจินตนาการดูว่าพฤติกรรมการกินปกติอาทิเช่น การดื่มกาแฟ, การตักอาหารเข้าปาก ฯลฯ หากเราสามารถถ่ายรูปที่มีอวัยวะที่ใช้ในการกินรวมอยู่ด้วยเช่น มือที่กำลังจับแก้วกาแฟ, การราดน้ำซอสบางอย่างของอาหารแต่ละชนิด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถดึงดูดความน่าสนใจของรูปภาพนั้นได้อย่างดี เพราะจะดึงประสบการณ์ร่วมของการทานอาหารด้วยพฤติกรรมเหล่านั้น และจะกระตุ้นส่วนของความทรงจำทางพฤติกรรมให้มีความอยากอาหารจากพฤติกรรมที่ได้ดู

3. การใช้ทิศทางแสงเพื่อชูรายละเอียดของอาหาร

การจัดทิศทางหรืออุณหภูมิของแสงเป็นพื้นฐานของพื้นฐานในการถ่ายรูปอยู่แล้ว หากเพียงเมื่อนำเทคนิคนี้มาถ่ายอาหาร จึงจะต้องมีการดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับรูปแบบการถ่าย อีกทั้งยังเป็นเรื่องของการจัดองค์ประกอบให้เหมาะสมอีกด้วย

หลักสำคัญคือการจัดทิศทางแสงให้ส่องไปรวมอยู่ที่อาหารหรือก็คือหาจุดที่แสงไปรวมตัวอยู่แล้วนำอาหารเหล่านั้นไปวางไว้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้จุดที่แสงไปรวมตัวช่วยส่องรายละเอียดของอาหารจานนั้น และในส่วนมืดของภาพก็จะทำให้ดึงความสนใจของสายตาไปที่อาหารจานนั้นอีกด้วย

4. เลือกพื้นหลังให้คลีนที่สุด

พื้นหลังเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำให้อาหารดูโดดเด่นหากพื้นหลังที่ใช้ มีสีหรือลวดลายที่เด่นกว่าอาหารจานนั้นก็คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ

การเลือกพื้นหลังมีหลักง่ายๆ ก็คือต้องใช้สีที่มีความคลีน ไม่ว่าจะเป็นโทนสว่างหรือมืดก็ขึ้นอยู่กับสีของอาหารจานนั้นว่ามีโทนสว่างหรือมืดมากกว่า หากมืดก็ใช้โทนสว่าง หากสว่างก็ควรใช้โทนมืด เพียงเท่านี้ก็จะไม่มีพื้นหลังแบบไหนที่แย่งความเด่นของอาหารไปได้

แต่ถ้าในกรณีที่หาพื้นหลังคลีนๆ ไม่ได้ เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกพื้นหลังที่มีสีโทนเดียวกับอาหารให้ได้มากที่สุด หรือถ้ามีลวดลายที่มากเกินไปก็ต้องไปแก้ไขด้วยการวางทิศทางของลวดลายนั้นๆ ให้มีลักษณะไปในทางเดียวกับการวางอาหารบนจานได้ด้วยเช่นกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถลดความโดดเด่นของพื้นหลังได้พอสมควร

5. แต่งรูปด้วยโทนสีตรงข้ามกับสีอาหาร

ขั้นตอนสุดท้ายที่จะสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับอาหาร ก็คือการปรับโทนภาพด้วยโปรแกรมแต่งรูป เพราะเราสามารถเลือกสีในภาพให้เป็นไปตามที่เราต้องการและที่สำคัญจะต้องเป็นสีที่ส่งเสริมให้อาหารดูน่ากินขึ้นอีกด้วย

เทคนิคง่ายๆ คือการสังเกตสีของอาหารก่อน ว่าสีส่วนใหญ่ของอาหารจานนั้นอยู่ในโทนสีอะไร แล้วลองปรับโทนสีตรงข้ามของอาหารจานนั้น ความตรงข้ามกันของสีภาพที่ปรับ จะทำให้สีของอาหารจานนั้นที่เป็นจุดหนึ่งของภาพที่ดูโดดเด่นขึ้นมาทันที

หรืออีกเทคนิคหนึ่งในการแต่งโทนภาพโดยไม่ต้องสนใจโทนสีตรงข้ามเลยก็คือ “การปรับโทนภาพให้เข้ากับธีมของอาหาร” ในแต่ละสถานที่มักจะมีโทนภาพประจำที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว ในส่วนของอาหารก็เช่นกัน เช่น อาหารญี่ปุ่น เราก็สามารถแต่งรูปให้มีสีที่ซีดๆ ปรับอุณภูมิแสงให้เย็นๆ เพื่อให้อาหารจานนั้นอยู่ในโทนภาพแบบญี่ปุ่นๆ หรือจะปรับให้มีสีเข้มดูดุดันเพิ่มสีตรงข้ามที่ทำให้อาหารดูสดและมีสีจัดจ้านมากที่สุดก็ทำได้เช่นกัน เพียงเท่านี้ก็จะเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพเหล่านั้นได้เช่นกัน

5 วิธีนี้เป็นเพียงพื้นฐานการถ่ายรูปทั่วไปที่ถูกนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพอาหาร ซึ่งแน่นอนว่ายังคงมีเทคนิคชั้นสูงอีกมากที่เหล่าช่างภาพมืออาชีพใช้ แต่ด้วยวิธีการที่ได้แนะนำเป็นการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้อาหารให้สวยงามเท่าที่คนทั่วไปจะสามารถทำตามได้ไม่ยาก 

นอกจากการ “การถ่ายรูปอาหาร” แล้ว ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับอาหารการกิน หากเราสามารถเรียนรู้และเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านั้นแล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับเอกลักษณ์ของตัวเองเชื่อว่ามันจะกลายเป็นคอนเทนต์ที่เป็นของคุณเพียงคนเดียวแน่ๆ

แอดคิดว่านี่ไม่ได้เป็นเพียงเทคนิคที่ใช้ถ่ายรูปอาหารได้เพียงอย่างเดียว หากใครที่เข้าใจถึงหลักการใช้งานของแต่ละเทคนิค แล้วลองเอาไปปรับใช้กับการถ่ายรูปแบบอื่นก็จัดว่าพื้นฐานเหล่านี้เป็นความรู้ที่คู่ควรจะเรียนรู้เอาไว้ เพราะเทคนิคเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพเท่านั้น หากสิ่งสำคัญขึ้นอยู่ที่ “ความสุข” ที่เราได้บอกต่อสิ่งที่เราอยากเผยแพร่ให้กับผู้คน อีกทั้งยังเติมเต็มบางอย่างให้ตัวเรามากกว่า…ที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด

Table of Contents