Drupal คืออะไร? ใช้สร้างเว็บไซต์และจัดการเนื้อหาทั่วไป

Drupal คืออะไร? ใช้สร้างเว็บไซต์และจัดการเนื้อหาทั่วไป
KNmasters

Drupal เป็นสุดยอดแพลทฟอร์มของ Content Management System (CMS) ในโลกใบนี้ มีความยืดหยุ่น สามารถสร้าง Content ที่มีความซับซ้อน สามารถเพิ่ม Scale ได้ง่ายไปจนกระทั่งเป็นเว็บไซต์ระดับ Enterprise สามารถสร้างเว็บไซต์หลายภาษา และยังรองรับกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้ง PC, Mobile, Tablet เป็นต้น

ประโยชน์ของ Drupal

Drupal ช่วยทำให้การพัฒนาเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และยังดูแลเว็บไซต์ได้อย่างง่ายได้อีกด้วย

ด้านเนื้อหา

  • ออกแบบโครงสร้างเนื้อหาได้ตามความต้องการ ซึ่ง Drupal จะเรียกในส่วนนี้ว่า Content Type
  • สร้างเนื้อหา, แก้ไข, ลบ, เผยแพร่ ได้อย่างง่ายได้

ด้านการดูแลเว็บไซต์

  • สามารถบริหารจัดการผู้ใช้งานได้ (User Management System) สามารถสร้างบุคลกร พร้อมกำหนดค่าการเข้าถึงส่วนต่างๆ ได้ (Permission)
  • การสามารถเปิดหรือปิดเพื่อ Maintenance เว็บไซต์ได้ ทำให้เราไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้มาก
  • มีเครื่องมือในการแบ็คอัพและกู้คืนเว็บไซต์แบบอัตโนมัติ (Backup and Restore)

ด้านความคุ้มค่า

  • เป็น Open Source ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาลดลง เป็นการลงทุนทางด้านการ Implementation
  • ใช้ Learning Curve ในการศึกษาและพัฒนา ไม่มาก เมื่อเทียบกับการต้องมาเรียนรู้ภาษา HTML, PHP, SQL ทำให้สามารถทำงานได้เร็ว และหาคนมาดูแลเว็บไซต์ได้ไม่ยาก
  • หากมีช่องโหว่ก็จะมีทีมที่จะช่วยกันป้องกัน ทำให้เราสามารถป้องกันและทำให้เว็บไซต์เราได้พัฒนาความสามารถใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา 

Technologies บน Drupal

ความสามารถในการรองรับงานที่ใหญ่ได้ (Highly Scalable)

รองรับการขนายขนาดของเว็บไซต์เพื่อรองรับการเติบโตของเว็บไซต์และเนื้อหาได้อย่างไร้ขีดจำกัด เราสามารถสร้างผู้สร้างเนื้อหา (Contributor) ได้อย่างไม่จำกัด อย่างเว็บไซต์ Weather.com หรือ อย่าง Grammy.com ก็เป็น Drupal  เช่นกัน

Mobile-First

รองรับการออกแบบเพื่อรองรับกับอุปกรณ์ต่างๆ (Responsive Design) เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจสูงสุด ตามประสบการณ์การใช้งาน ตามแนวทางของ Universal Design

ความมีมาตรฐาน (Standards)

เว็บไซต์จะต้องมีมาตรฐานที่ดี Drupal รองรับกับมาตรฐานมากมายทั้งในเรื่องของเนื้อหา ก็จะมีมาตรฐานอย่าง WCAG 2.0 (Web Content Accessibility Guidelines) มาตรฐาน HTML, CSS และ มาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆ ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของเราได้มาตรฐานได้ เพื่อช่วยสร้างสังคมที่ดีในโลกไซเบอร์

ระบบการรักษาความปลอดภัย (Security)

ระบบถูกออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยจากการโจมตี รหัสผ่านถูกเข้ารหัส ความยาวขั้นต่ำ กำหนดความซับซ้อน และวันหมดอายุได้ พร้อมทั้งมีโมดูลด้านความปลอดภัย(Security) มากมาย รองรับ SSL และยังมี Single Sign On (SSO) ที่รองรับได้แก่ LDAP, Shibboleth, OpenID และ SAML

มีระบบรองรับการป้องกัน Brute Force Detection โดยระบุจำนวนครั้งที่ Login ไม่สำเร็จ หรือการจำกัด IP Address ที่โจมที่ทั้งเป็นแบบเฉพาะเจาะจง หรือเป็นช่วง IP Address ก็สามารถระบุได้

Drupal มีคุณสมบัติตามที่ OWASP (Open Web Application Security Project) Top 10 Risk ระบุ

มีเครื่องมือจัดการเนื้อหาที่ใช้งานง่าย (Ease of Use of Authoring)

มีเครื่องมือในการจัดการเนื้อหาช่วยสำหรับการสร้าง แก้ไข เนื้อหาอย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ HTML มาก่อน โดยมี WYSIWYG editor อย่างเช่น CKEditor ที่จะช่วยให้คุณเห็นเนื้อหาก่อนการเผยแพร่ โดยแยกตามแต่ละ Device 

สถาปัตยกรรมยืดหยุ่นสูง

สถาปัตยกรรมในการออกแบบมีความยืดหยุ่น รองรับกับการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เพิ่มเติม ในอนาคต โดยการดูแลจะไม่ต้องมีต้นทุนที่สูงมาก

รองรับกับหลายไซต์ (Multisite)

รองรับการการทำเว็บไซต์ในลักษณะ Multi Site ที่จะสร้างเว็บไซต์ลูก ออกมาได้ โดยยังมีเครื่องมือบริหารจัดการรวมได้อีกด้วย ทำให้การสร้างเว็บของหน่วยงานลูก เว็บสาชา เว็บแผนก ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานหลักทำได้ไม่ยาก

เป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่ไร้ขีดจำกัด

Drupal ไม่ได้บังคับอะไรในทางธุรกิจเลย มันสามารถสร้างอะไรเพื่อธุรกิจของคุณได้อย่างไร้ขีดจำกัด Drupal เป็นเสมือนเครื่องมือที่คุณจะนำไปใช้งานตามที่คุณต้องการ ปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง

มาพร้อมกับโครงสร้างที่ Enterprise และ Open Source

เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับ Drupal จะเป็นบน LAMP ซึ่งก็คือ Linux, Apache, MySQL และ PHP ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เป็น Open Source และมีการพัฒนาอยากมาก มีความยืดหยุ่น และ Enterprise ด้วย แต่หากจะใช้เทคโนโลยีอื่น อย่างเป็น Windows หรือ IIS หรือ ใช้ฐานข้อมูลอย่าง SQL Server ก็สามารถทำได้เช่นกัน

รองรับงานหลายภาษา (Multilingual)

รองรับการทำงานหลากหลายภาษา ทั้งในตัวของ Drupal เองก็รองรับกับภาษาทั้งหมด 94 ภาษาด้วยกัน สำหรับ Drupal 8 ที่ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม เราสามารถทำให้เนื้อหาของเว็บไซต์เรา แสดงผลตามผู้ใช้ที่ต้องการได้ เช่น ผู้ใช้งานที่ใช้ภาษาไทย ก็จะแสดงผลเป็นภาษาไทย หรือ หากจะเลือกเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะแสดงได้ตามที่ต้องการ และยังกำหนดการแสดงผลให้เหมือน หรือ แตกต่างก็สามารถทำได้ และยังรองรับกับการค้นหาตาม Drupal’s Search API

ส่วนประกอบที่สำคัญ

  1. Structure : เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆ เป็นเสมือนรากฐานที่สำคัญของเว็บไซต์ ซึ่งนักพัฒนาเว็บไซต์จะต้องออกแบบตามความต้องการการใช้งานของเว็บไซต์ ว่าจะประกอบไปด้วยโครงสร้างใดบ้าง โดยมีโครงสร้างที่สำคัญดังนี้
    1. Taxonomy : ใช้สำหรับจัดกลุ่มของเนื้อหา 
    2. Content Type : ใช้สำหรับสร้างประเภทเนื้อหาที่จะจัดเก็บ
    3. Menu : ใช้สำหรับรวบรวมลิงค์ (Links) ต่างๆ ที่จะใช้เชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์
  2. Content : เนื้อหาที่เกิดจากการ Add Content เข้ามาจาก Content Type ที่ระบุ โดย Drupal มีระบบในการจัดเการเนื้อหา และ สามารถกรองข้อมูลที่ต้องการได้
  3. Theme : ส่วนของหน้าตา สีสันของเว็บไซต์ จะประกอบไปด้วยการตกแต่ง ทั้งในเรื่องของ ฟอนต์ สี ระยะห่าง พื้นหลัง ระยะขอบ เป็นต้น โดยเราสามารถดาวน์โหลด Theme มาติดตั้ง หรือ พัฒนาเองก็สามารถทำได้
  4. Module : ส่วนเสริม หรือบาง CMS ก็เรียกว่า AddIns หรือ Extension แต่ Drupal เรียกว่า โมดูล (Module) โดยเราสามารถติดตั้ง โมดูล เพื่อให้ Drupal มีความเก่งกาจขึ้น ได้
  5. User Management : Drupal เป็น CMS ที่เราสามารถรองรับการการใช้งานของผู้ใช้ได้ไม่จำกัด พร้อมสามารถกำหนดสิทธิ์ในการใช้งาน การเข้าถึงส่วนประกอบต่างๆ ได้
  6. Configuration : เป็นส่วนของการปรับแต่งส่วนประกอบภายในเว็บไซต์ ทั้งการเปิด/ปิด เว็บไซต์ การแก้ไขข้อมูลพื้นฐานของเว็บไซต์ Drupal มีความสามารถในการปรับแต่ง Performance ที่จะทำให้การโหลดเว็บไซต์เร็วขึ้น การตั้งค่าของ Editor การกำหนดค่าด้าน SEO เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์

หน่วยงานเลือกที่จะใช้ Drupal ได้แก่

ตัวอย่างเว็บไซต์ในประเทศไทยที่ใช้ Drupal ได้แก่

  1. กระทรวงแรงงาน (https://www.mol.go.th/anonymouse/home)
  2. เว็บไซต์ ขสมก. (www.bmta.co.th)
  3. เว็บไซต์ สตง. (www.oag.go.th/home)
  4. เว็บไซต์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (https://nep.go.th/home)
  5. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (https://www.efai.or.th/)
  6. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (https://www.gistda.or.th/)
  7. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://www.eng.chula.ac.th/)
  8. สภาการพยาบาล (https://www.tnc.or.th)
  9. ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ (https://www.thailandsgottalent.tv/home)
  10. มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (https://www.blind.or.th/)
  11. ศูนย์สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ (https://www.braille-cet.in.th/)
  12. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) (https://www.oic.or.th/th)
  13. 9Expert Training (https://www.9experttraining.com)
  14. Thaiwebaccessibility.com (https://www.thaiwebaccessibility.com)

Download

ติดต่อเรา

บทความที่น่าสนใจ

KNmasters
แผนที่ Google (Google Maps) คืออะไร?
Google Maps เป็นบริการแผนที่ออนไลน์ที่ถูกพัฒนาโดย Google ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการที่ได้รับความนิยมอย่าง...
KNmasters
SEO สายดำ (Black Hat SEO) คืออะไร?
ในโลกของการทำ SEO (Search Engine Optimization) มีกลยุทธ์และวิธีการหลายแบบที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มการแสดง...
KNmasters
การตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) คืออะไร? สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร?
บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์หรือ Digital Marketing ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้สื่อดิจิท...
KNmasters
SEO สายเทา (Gray Hat SEO) คืออะไร? แตกต่างจาก SEO สายขาวอย่างไร?
SEO สายเทา เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะในช่วงเวลาปัจจุบันที่การ...
seo search engine optimization modish ecommerce online retail business showing computer screen (Website)
SEO (Search Engine Optimization) คืออะไร? ถ้าอยากให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google ต้องรู้!
SEO (Search Engine Optimization) หรือการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับบน Google มีความสำคัญอย่างม...
KNmasters
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต Web 1.0 การท่องโลกอินเทอร์เน็ตยุคแรก
Web 1.0 เป็นระบบเว็บไซต์ในยุคแรกของอินเทอร์เน็ตที่เริ่มเปิดใช้ในต้นปี 1990 โดยเริ่มต้นจากการใช้งานเพ...