“Google search console” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญมากๆ สำหรับคนทำเว็บไซต์ ทำ SEO และคนทำคอนเทนต์ โดยทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยแบบฟรีๆ เพราะนี่เป็นเครื่องมือจาก Google ขอแค่คุณมีบัญชี Gmail เท่านั้นเองครับ แต่ก่อนจะไปดูวิธีการติดตั้งแต่วิธีใช้ ผมอยากให้ทุกคนมาปูพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือนี้กันสักหน่อยว่า คืออะไร แล้วทำไมเราจำเป็นจะต้องใช้งาน ตามไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ
Google Search Console (GSC) หรือ Google Webmaster Tools เป็นเครื่องมือจาก Google ที่สามารถใช้งานได้ฟรี โดยเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและดูแลเว็บไซต์ของเรา หาว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น เกิดปัญหา Page Not Found 404 ขึ้นกี่หน้า ฯลฯ อะไรที่ทำได้ดีอยู่แล้ว พูดง่ายๆ ว่าเป็นเหมือนเครื่องมือช่างสำหรับคนทำโปรแกรมเมอร์เลยก็ว่าได้ครับ หรือจะนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคอนเทนต์ ซึ่งทั้งเรื่องเว็บไซต์และเรื่องคอนเทนต์เนี่ย เป็น 2 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการทำ SEO ที่ทุกคนต้องคอยตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอๆ เลยครับ
มาขยายความให้ชัดขึ้นอีกนิด ผมขอแบ่งประโยชน์ของ Google Search Console แบบเป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายมากขึ้น โดยขอแบ่งออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้
การเลือกเพิ่มจากโดเมน โดยการระบุโดนเมนของเว็บไซต์ของคุณลงไป Google Search Console จะทำการจัดรูปแบบ URL ของคุณทั้งหมดในครั้งเดียว
ส่วนการเลือกเพิ่มจาก URL-prefix จะเป็นการเพิ่มหน้าเว็บไซต์ทีละ URL จะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้ Google Search Console แค่ส่วน Sub domain ของเว็บไซต์เท่านั้น
หลังจากเลือกวิธีการเพิ่มพร็อพเพอร์ตี้อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วให้กดปุ่ม Continue ต่อไป
ขั้นต่อมาจะมีการให้คุณยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ โดยพร็อพเพอร์ตี้แต่ละแบบจะมีวิธีการยืนยันตัวตนต่างกัน ดังนี้
ให้คุณเพิ่ม DNS record ไปยังโฮสต์ของคุณ แล้วกลับมายัง Google Search Console แล้วกดปุ่ม Verify
ซึ่งคุณต้องทำวิธีนี้ซ้ำๆ ตามจำนวนของ Url ที่คุณต้องการเพิ่มพร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งกระบวนการ Verify นี้อาจจะต้องรอ 1-2 วันเพื่อให้ข้อมูลเริ่มแสดงขึ้นมานะครับ
สำหรับวิธีการติดตั้ง Google Search Console ลงบนเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะนิยมกันอยู่ 2 รูปแบบครับ นั่นก็คือ
ใครที่ทำเว็บไซต์ด้วยระบบ CMS (Content Management System) เช่น WordPress สามารถติดตั้งปลั๊กอินอย่าง Yoast SEO หลังจากติดตั้งปลั๊กอินแล้วให้คลิกคำว่า SEO ที่แถบเมนูด้านข้าง จากนั้นให้คลิกไปที่ Webmaster Tool เมื่อวางโค้ด HTML Tag ที่ Copy มาแล้ว Save เรียบร้อย ให้กลับไปหน้า Google แล้วกด Verify เท่านี้ก็ติดตั้ง Google search console ลงเว็บไซต์ของคุณได้แล้วครับ
ใครที่มีทีมโปรแกรมเมอร์ หรือเชี่ยวชาญด้าน Technical หน่อย ก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์ HTML มาวางไว้ที่ไดเรกทอรี่แรกของเว็บไซต์เลยครับ แต่วิธีนี้คนทำจำเป็นต้องรู้ที่ตั้งของตำแหน่งของหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์นะครับ ถึงจะทำได้แล้วไม่เกิดอาการมั่วหรือ Error ตามมา
หลังจากติดตั้งเครื่องมือนี้เรียบร้อยแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับว่า Google Search Console มีวิธีใช้ยังไงบ้าง และแต่ละฟีเจอร์ช่วยทำให้คุณดูแลเว็บไซต์ ทำ SEO หรือปรับปรุงคอนเทนต์ยังไง ตามไปดูกันเลยครับ
หน้า Overview จะเป็นหน้าภาพรวมที่จะแสดงข้อมูลที่เป็นภาพรวมของเว็บไซต์ เช่น ผลการปฏิบัติงาน ความครอบคลุม การเพิ่มประสิทธิภาพ ฯลฯ ซึ่งถ้าอยากดูแบบเจาะลึก ในแต่ละแท็บเมนูด้านซ้ายจะมีรายละเอียดของรีพอร์ตแต่ละตัวให้กดเข้าไปตรวจสอบแยกทีละส่วนได้เลยครับ
มาต่อกันที่เมนูที่ 2 คือ Performance Dashboard จะเป็นรีพอร์ตที่คอยรายงานประสิทธิภาพบน Search Console และปริมาณคนที่เข้าถึงเว็บไซต์ สามารถดูย้อนหลังได้สูงสุด 16 เดือน ซึ่งช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ทำให้เห็นผลของการทำ SEO ในหลายๆ ด้าน ได้แก่
นอกจากนี้คุณยัง Filter ข้อมูลอื่นๆ ได้ตามความต้องการอีก ไม่ว่าจะเป็น…
โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถเลือกประเภทของ Search Type (ประเภทการค้นหา) ว่าจะดูเป็น Web (เว็บ) Image (รูปภาพ) Video (วิดีโอ) หรือ News (ข่าว) ได้ด้วยครับ
URL Inspection หรือเครื่องมือตรวจสอบ URL เป็นเครื่องมือใหม่ของ Google ครับ ช่วยบอกว่า URL นี้อยู่ในการจัดทำดัชนีจาก Google หรือไม่ Google มาสำรวจล่าสุดวันไหน หรือมีความเหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือไม่ ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาดใน URL ดังกล่าว Search Console ก็จะแสดงผลให้คุณทราบพร้อมกับแนะนำแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นให้ด้วยครับ
สำหรับแถบเมนู Index ที่ใช้บ่อยๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
จะเป็นส่วนที่ใช้ดูข้อผิดพลาดในหน้าเพจที่ถูกจัดทำดัชนีแล้ว ซึ่งถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้น Search Console ก็จะทำการแจ้งเตือนให้คุณรีบเข้ามาแก้ไขได้ทันที โดยในส่วนของข้อผิดพลาดที่พบบ่อยจะมีอยู่ทั้งหมดมีอยู่ 5 ตัว ได้แก่
Sitemap
ส่วนนี้จะเป็นส่วนของการเพิ่มแผนผังของเว็บไซต์ (Sitemap) โดยจะต้องทำการส่งให้ Google รู้ว่า เว็บไซต์ของเรามี Url อะไรบ้าง และทำให้ Bot เข้ามาเก็บข้อมูลในหน้าที่ต้องการได้รวดเร็วและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่ออัปเดตเนื้อหา ด้วยการส่งลิงก์ url ในหน้าที่ทำการอัปเดตใหม่เข้าไป หลังจากนั้นก็รอให้ Bot เข้ามาตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง
ส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบเมตริกที่ใช้วัดประสบการณ์การใช้งานของแต่ละหน้าบนเว็บไซต์ โดยมี 3 เกณฑ์หลัก ได้แก่
ซึ่งถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีข้อผิดพลาด หรือยังทำได้ไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด Search Console ก็จะทำการแจ้งผลนั้นๆ ไว้ให้แก้ไขด้วยครับ
Google Search Console เป็นเครื่องมือฟรีจาก google ที่เหมาะสำหรับทุกคนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะนอกจากจะใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ว่าทำงานได้ดีหรือไม่แล้ว ยังช่วยในเรื่องของการทำคอนเทนต์ และการทำ SEO ด้วย ซึ่งคุณสามารถใช้เครื่องมือนี้เป็นตัวตั้งต้นในการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเครื่องมืออื่นๆ อย่างเช่น SEO Tool หรือ Google Trend เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งในด้านการทำ Keyword Research รวมถึงดู Performance ของการทำ SEO ในด้านอื่นๆ ด้วยได้ รับรองว่า มีประโยชน์และทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพ พร้อมเพิ่มโอกาสในการติดหน้า Google ได้อย่างแน่นอน